1 ปี โลกร้อนขึ้นแค่ไหน!!!

1 ปี โลกร้อนขึ้นแค่ไหน สละเวลา 1 นาทีมาดูสิ่งที่เราทำไว้กับโลก Climate Change ? Climate Change  แปลเป็นไทยคือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยปกติในธรรมชาติจะมีการเปลี่ยงแปลงของสภาพภูมิอากาศทุกหมื่นปีจากการเปลี่ยนแปลงองศาของวงโคจรโลกหรือเกิดขึ้นจากภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่ส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมภายในโลกโดยตรง เช่น อุกกาบาตลูกยักษ์ใหญ่พุ่งชนโลก ภูเขาไฟลูกยักษ์ระเบิด หรือสงครามนิวเคลียร์ ถ้าหากไม่มีการกระทำเหล่านี้ก็แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศบนโลกสักเท่าไหร่ นอกจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกตัวเองว่า มนุษย์ Cilmate ไม่ใช่ พยากรณ์อากาศวันนี้ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าโลกนั้นร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ทำไมที่บ้านฉันยังหนาวกว่าปีที่แล้วอยู่เลยละ มันแปลว่าโลกเย็นลงละซี่ จริง ๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น Climate Change นั้นคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เป็นในระยะยาวและใหญ่ กล่าวคือมันคือสภาวะภูมิอากาศของพื้นที่นั้น ๆ ในระยะยาว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่แน่นอนและอิงกันเป็นนัยยะสำคัญกับการกระทำของมนุษย์ ส่วนสภาพอากาศนั้นคือสภาพอากาศของวันนี้ที่ฝนตกและพรุ่งนี้ที่ฝนตก แน่นอนว่าวันนี้ฝนตกน้อยอากาศจึงร้อนกว่าวันพรุ่งนี้ ส่วนพรุ่งนี้เย็นกว่าวันนี้เพราะเมฆฝนลงมาปกคลุมมากกว่าวันนี้ นี้คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ถ้าเปรียบ Climate เป็นเหมือนมนุษย์ ส่วน สภาพอากาศ เป็นหมา การที่คุณพาหมาไปเดินเล่นบนชายหาดมันคือสิ่งที่น่าตื่นเต้นสำหรับหมามาก มันวิ่งไปทั่วทุกทิศทางและโชคดีที่มันวิ่งไปไหนไกลไม่ได้เพราะคุณจูงมันอยู่ คุณเดินไปข้างหน้าตรง ๆ ส่วนหมาของคุณนั้นเดินวิ่งไปทางซ้ายทีขวาทีหรือเดินไปทางใดทางหนึ่งก่อนสลับไปมา นี่คือตัวอย่างที่ดีในการอธิบาย เพราะ Climate นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีรูปแบบ […]

ค่ายพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ม.1

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2561 ในระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2561

STEM Education คืออะไร???

รู้จักสะเต็ม คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)  วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)  หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้ ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป (Hanover Research, 2011, p.5) เช่น มีการใช้คำว่า STEM  ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี […]

“แสงซินโครตรอน” คืออะไร!!!

แสงที่มนุษย์พบเจอบนโลกนี้มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นแสงจากดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน แสงจากดวงดาวในยามค่ำคืน แสงจากหลอดไฟต่างๆ หรือแม้กระทั่งแสงที่เกิดจากการส่งสัญญาณของสัตว์ อย่างเช่น หิ่งห้อย เป็นต้น แสงเหล่านี้มีทั้งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น แล้วคุณรู้หรือไม่ว่ายังมีแสงอีกประเภทหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติที่พิเศษแตกต่างไปจากแสงประเภทอื่นๆ ที่กล่าวมา นั่นคือ “แสงซินโครตรอน” (Synchrotron Light) แสงซินโครตรอน คืออะไร? แสงซินโครตรอน มีธรรมชาติเดียวกับแสงอาทิตย์ หรือแสงจากหลอดไฟทั่วๆ ไป แต่มีความสว่างจ้ากว่าแสงในเวลากลางวันมากกว่า 1 ล้านเท่ามีขนาดของลำแสงเล็กได้ถึงในระดับไมโครเมตร (1 ใน1,000,000 ของเมตร) หรือเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นผม มีอำนาจทะลุทะลวงสูง   อีกทั้งแสงนี้ยังครอบคลุม 4 ช่วงความยาวคลื่น ตั้งแต่แสงอินฟราเรด แสงที่ตามองเห็น แสงอัลตร้าไวโอเลตและรังสีเอ็กซ์ ด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ นักวิทยาาสตร์จึงใช้แสงซินโครตรอนในการไขความลับในระดับอะตอมได้มากมาย ในประเทศไทยมีสถาบันแห่งหนึ่งที่สามารถผลิตแสงซินโครตรอน สำหรับใช้ในการวิเคราะห์ วิจัย การปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ภาคอุตสาหกรรม นั่นคือ “สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)” ซึ่งตั้งอยู่ ณ บริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา โดยสถาบันแห่งนี้มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย สำหรับเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนนั้นนับว่าเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยีวิศวกรรม และเป็นโครงสร้างพื้นฐานอันสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ทัดเทียมนานาอารยะประเทศ โดยประโยชน์หลักจากแสงซินโครตรอนนั้นใช้เพื่อการวิเคราะห์วิจัยเชิงลึกทางวิทญาสตร์ของวัตถุต่างๆ ในระดับอะตอมและโมเลกุล สามารถทดสอบได้ทั้งวัตถุที่มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว ก๊าซ แม้กระทั่งพลาสมา คุณสมบัติของแสงซินโครตรอน แสงซินโครตรอนที่ผลิตขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยามมีความสว่างกว่าแสงในเวลากลางวันกว่าล้านเท่า คมชัด ความเข้มสูง อำนาจการทะลุทะลวงสูง และมีขนาดของลำแสงเล็กมากเทียบเท่ากับระดับความหนาของเส้นผม ทำให้สามารถศึกษาถึงโครงสร้างระดับอะตอมของธาตุชนิดต่างๆได้ นอกจากนี้ยังครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นต่อเนื่อง ตั้งแต่ รังสีอินฟราเรด แสงที่ตามองเห็น รังสีอัลตราไวโอเลต และรังสีเอกซ์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเลือกใช้ช่วงความยาวคลื่นหรือพลังงานที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ศึกษาในงานวิจัยด้านต่างๆตามที่ต้องการได้ วิธีการผลิตแสงซินโครตรอน ขั้นตอนที่หนึ่ง คือ การผลิตอิเล็กตรอน โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้กับไส้โลหะของปืนอิเล็กตรอนจนร้อน จนทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมา จากนั้นจึงใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้าแรงสูงขั้วบวกในการดึงอิเล็กตรอนให้วิ่งไป ในทิศทางเดียวกัน ขั้นตอนที่สอง เป็นการเร่งความเร็วอิเล็กตรอนในแนวเส้นตรง ด้วยเครื่องเร่งอนุภาคแนวตรง หรือ linac เพื่อเร่งอิเล็กตรอนมีความเร็วสูงในระดับที่ต้องการ (40 ล้านอิเล็กตรอนโวลท์) จากนั้นป้อนอิเล็กตรอนนี้เข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแนววงกลมหรือเครื่องซินโค รตรอน ขั้นตอนที่สาม อิเล็กตรอนภายในเครื่องซินโครตรอนจะถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลมและ มีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีความเร็วสูงเกือบเท่าความเร็วแสง (1, 000 ล้านอิเล็กตรอนโวลท์ หรือ 1 GeV) หลังจากนั้นอิเล็กตรอนจะส่งเข้าสู่วงกักเก็บอิเล็กตรอนเป็นขั้นตอนสุดท้าย ขั้นตอนที่สี่ วงกักเก็บอิเล็กตรอนทำ หน้าที่เพิ่มพลังงานเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 1,200 […]

1 21 22 23 24 25 35